เจ้าผู้ครองเมืองระยองคนสุดท้าย




พระศรีสมุทรโภค (อิ่ม ยมจินดา)
เจ้าผู้ครองเมืองระยองคนสุดท้าย 

ชาติภูมิ

พระศรีสมุทรโภค มีนามเดิมว่า อิ่ม นามสกุล ยมจินดา เป็นบุตรของ พระยาศรีสมุทรโภคชัยโชคชิตสงคราม (เกตุ ยมจินดา) และคุณหญิงศรีสมุทรโภคชัยโชคชิตสงคราม (เจียก ยมจินดา) เกิดเมื่อวันอาทิตย์ เดือน ๕ ปีจอ ตรงกับ พ.ศ. ๒๔๐๓ พระศรีสมุทรโภค สมรสกับ นางศรีสมุทรโภค (ลิ่นจี่ ยมจินดา) มีบุตรรวม ๒ คน สมรสกับ นางเป้า ยมจินดา มีบุตรธิดารวม ๖ คน และสมรสกับนางบาง ยมจินดา มีบุตรธิดารวม ๙ คน




ประวัติการศึกษา
ในชั่วปฐมวัย ได้ศึกษาภาษาไทยและขอมตลอกจนเลขคณิตจนแตกฉาน ต่อมาได้เข้ารับราชการกับบิดา เป็นหลวงราชภัคดีสงคราม ปลัดเมืองระยอง จากนั้นได้ไปศึกษาระเบียบการปกครองพื้นที่ ณ มณฑลอยุธยา และสอบไล่ได้ตามหลัดสูตลบริบูรณ์ จนเป็นผู้ระเบียบแบบแผนราชการในสมัยราชการที่ ๕ ดีเยี่ยมผู้หนึ่ง ต่อมาท่านได้เป็นเจ้าเมืองระยอง เจ้าเมืองชลบุรี เจ้าเมืองสุพรรณบุรี และตำแหน่งสุดท้ายได้กลับมาเป็นเจ้าเมืองระยองอีกครั้งจนเกษียณอายุราชการ

ผลงาน

-เมื่อเป็นผู้ว่าราชการเมืองระยองครั้งที่ ๑ ได้จัดระเบียบการปกครองท้องที่แบบแบ่งเขตหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ ตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่
-ตั้งกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และตั้งที่ว่าการอำเภอบ้านค่ายที่บ้านไผ่ล้อมให้นามว่า อำเภอไผ่ล้อม แล้วแบ่งเขตอำเภอไผ่ล้อมกับอำเภอเมืองระยอง
-ตัดถนนตั้งแต่อำเภอบ้านค่ายเชื่อมกับตลาดตำบลท่าประดู่ อำเภอเมือง ระยอง
-ตัดถนนในตลาดตำบลท่าประดู่อีก ๑ สาย คือ ถนนชุมพล
-ตัดถนนผ่านที่นาราษฎรทุ่งปลวกเกตุ เพื่อให้การไปมาของราษฎรในตำบลตะพง เพ แกลง สะดวกยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นถนนสายใหญ่ สัตหีบ ระยอง จันทร์ ในเวลาเดียวกัน
-ตัดถนนไปทางเนินพระ กรอกยายชา
-ของแรงกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ราษฎร จัดหาไม้มาปลูกสร้างศาลากลางจังหวัดขึ้น (ขณะนี้รื้อแล้ว)
-เมื่อย้ายไปเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี ได้ตัดถนนตั้งแต่หน้าศาลากลางจังหวัดไปตามชายทะเลผ่านไปบ้านอ่างศิลา ซึ่งมีที่พักตากอากาศ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ที่มาพักตากอากาศ ท่านเป็นคนขยันหมั่นเพียร ไม่อยู่นิ่ง ๆ ชอบหางานทำ เช่น ปลูกสร้างบ้านเรือน ทำตู้ ตะ เครื่องใช้บางอย่างสำหรับบ้าน ทำกระถางต้นไม้ ทำสวนครัว เลี้ยงเป็ด ไก่ ถ้าไม่มีงานทำก็หาเวลาดูหนังสือในทางประติศาสตร์ ทางพุทธศาสนา และทางอรรถคดี เหล่านี้เป็นต้น

มรรณภาพ

พระศรีสมุทรโภคมีอาการป่วยด้วยโรคสำไส้พิการตั้งแต่เดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๔ ครั้นถึงวันที่ ๓๐ ในเดือนเดียวกัน ท่านก็ถึงแก่กรรม รวมอายุ ๗๙ ปีเศษ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ประวัติ ถนน ยมจินดา

วิกเถ้าแก่เทียน